โรงเรียนวัดนาขุนแสน (แกละประชานุกูล)

หมู่ที่ 4 บ้านบ้านนาขุนแสน ตำบล สวนผึ้ง อำเภอ สวนผึ้ง จังหวัด ราชบุรี 70180

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

032 240189

โรงเรียนวัดนาขุนแสน

บุคคลากร

นายวุฒิชัย วิทยาคม
ผู้อำนวยการ
โรงเรียนวัดนาขุนแสน (แกละประชานุกูล)

 

Previous
Next

ประวัติย่อ โรงเรียนวัดนาขุนแสน

โรงเรียนวัดนาขุนแสน (แกละประชานุกูล) ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยการนำของเจ้าอาวาส วัดนาขุนแสน คือ พระอธิการแกละ ปณฑิโต พร้อมด้วยคณะครู ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในหมู่บ้านให้ความร่วมมือช่วยกันก่อตั้ง และให้ชื่อว่าโรงเรียน วัดนาขุนแสน (แกละประชานุกูล) ซึ่งเดิมขึ้นกับอำเภอจอมบึง เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยมีนายยอด คุณรักษา เป็นครูใหญ่คนแรก

ปัจจุบัน ได้เปิดทำการสอน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๖ ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ มีนักเรียนรวม ๑๕๓ คน ข้าราชการครู ๙ คน ครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ๑ คน ครูธุรการ ๑ คน นักการภารโรง ๑ คน ผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบันคือ นายวุฒิชัย วิทยาคม

พันธกิจ

โรงเรียนวัดนาขุนแสนให้บริการทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตบริการอย่างทั่วถึง พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิธีการ ที่หลากหลาย จัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ทั้งใน และนอกโรงเรียนเป็นสื่อ พัฒนาระบบการนิเทศ และการควบคุมภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมบุคลากรให้พัฒนาตนเอง ด้านการใช้สื่อนวัตกรรม และ เทคโนโลยี ช่วยสอน ส่งเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพจิต นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ร่วมมือกับชุมชนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน และภายนอกโรงเรียน ระดมทรัพยากรในการบริหารจัดการศึกษา จัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

วิสัยทัศน์

นักเรียนโรงเรียนวัดนาขุนแสน ทุกคน มีคุณธรรมจริยธรรม และคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม โดยเน้น
การพัฒนานักเรียนตามศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขบนพื้นฐานวิถีไทย

ปรัชญา

มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำวิชา พัฒนาสังคม

เป้าประสงค์ โรงเรียนวัดนาขุนแสน

๑. นักเรียนในเขตบริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ที่ ๑–๖ และระดับปฐมวัยอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และ มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน
๒. นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ทั้งด้าน ความรู้ คุณธรรมจริยธรรม และสุขภาพ

นานาสาระ

เรื่อง อาหารเยอรมัน

อาหารการกินของคนเยอรมัน จะมีความแตกต่างกันออกไปตามเชื้อชาติ และประเทศใกล้เคียง ทั้งทางใต้ และทางตะวันตก เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงได้รับอิทธิพลในเรื่องการปรุงอาหารมา เช่น บาวาเรีย สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรียทางตอนใต้ และฝรั่งเศสทางตะวันตก หรือทางยุโปรตะวันออก สำหรับอาหารในบริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือจะเป็นอาหารที่มีอิทธิพลมาจากประเทศสแกนดิเนเวีย ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับเชื้อชาติเป็นสำคัญ เพราะคนเยอรมันนั้นประกอบด้วยคนหลายเผ่าพันธุ์และเชื้อชาติ จึงทำให้การกินอาหารยังติดอยู่กับชาติพันธุ์ดั่งเดิมเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีข้าว จะมีขนมปังมาแทน

ลักษณะการกินอาหารของคนเยอรมัน

ตามธรรมชาติ หรือปกติแล้วทั่วไปแล้ว คนเยอรมันจะกินอาหารที่เป็นมือหลัก ๆ ได้แก่อาหารมื้อกลางวัน ส่วนอาหารมื้ออื่นๆ เช่น มื้อเย็นจะเป็นอาหารว่าง หรืออาหารที่เป็นมื้อเล็ก ๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ใช่อาหารหนัก อันได้แก่ อาหารกินเล่นทั่วไปที่ประกอบไปด้วยขนมปังและเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ หรือเนื้อหมูที่ฉีกเป็นเส้นฝอยและไข่ เช่น อาหารประเภทแซนด์วิชไก่ หรือแซนด์วิชไข่ต้มอ้นเล็ก ๆ แต่ปัจจุบันประกอบกับสภาพของการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้ชาวเยอรมันส่วนหนึ่งต้องหันมากินอาหารมื้อเย็นเป็นหลักแทนเพิ่มขึ้นอีกมื้อหนึ่ง

อาหารมื้อเช้าของคนเยอรมัน

ส่วนใหญ่แล้วอาหารมื้อเช้า จะหลีกเลี่ยงอาหารหนัก จึงประกอบได้ด้วยขนมปัง เช่นขนมปังปิ้ง ขนมปังก้อน ทาด้วยแยมน้ำผึ้ง หรือเนย ไข่คนหรือไข่ดาว กาแฟ สำหรับเด็ก ๆ ก็คงให้เป็นโกโก้ร้อนหรือเย็นตามสะดวก ส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น แฮมหรือซาลามี ชีสต่าง ๆ พร้อมเครื่องทาขนมปังอีกหลายอย่าง ได้แก่ ตับบด ซึ่งรวมไปถึงประเภทซีเรียล และมูสลี

อาหารประเภทเนื้อสัตว์

ส่วนใหญ่แล้วคนเยอรมันจะนิยมบริโภคอาหารเนื้อมากกว่า ซึ่งได้แก่ เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อไก่หรือสัตว์ปีกอื่น ๆ เช่น ไก่งวง ไก่บ้าน เป็ด และห่าน เป็นต้น อาหารเนื้อเป็นที่นิยมรับประทานมากที่สุดของคนเยอรมัน โดยเฉพาะเนื้อหมูจะเป็นที่โปรดปรานมากที่สุด ส่วนเนื้อสัตว์ปีกอื่น ๆ เช่น เนื้อไก่ก็จะมีอยู่ทั่วไป แต่ถ้าเป็นเนื้อเป็ด ห่านหรือไก่งวงก็จะนิยมกันเป็นเฉพาะในช่วงเทศกาล สำหรับเนื้อม้านั้นชาวเยอรมันจะถือว่าเป็นอาหารเมนูพิเศษกว่าใคร จะมีการบริโภคกันเฉพาะบางส่วนของประเทศไม่เป็นการเฉพาะเจาะจง เนื่องจากม้าถือว่าเป็นสัตว์ที่ใกล้ชิดกับคนและเป็นสัตว์ใหญ่ คนเยอรมันบางส่วนก็ไม่นิยมรับประทาน ชาวเยอรมันจะบริโภคเนื้อในรูปของการนำมาผลิตเป็นไส้กรอกมากที่สุด จนมีคำกล่าวกันว่า “ไส้กรอกเยอรมัน” ให้ได้ยินกันจนชิน อาหารประเภทไส้กรอกของเยอรมันมีแตกต่างกันถึง 1,500 ชนิด

อาหารประเภทปลา

คนเยอรมันไม่นิยมทางปลา จะมีบ้างก็เป็นส่วนน้อย ปลาเทราค์ซึ่งเป็นปลาน้ำจือที่มีอยู่ในเมนูร้านอาหารในเยอรมันแต่ก็มีคนเยอรมันส่วนน้อยเท่านั้นที่สั่งมารับประทาน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนยุโรปที่อาศัยอยู่ในเยอรมันมากกว่า ส่วนปลาทะเลหรืออาหารทะเลอื่น ๆ จะนิยมกันเฉพาะคนทางตอนเหนือที่ติดชายฝั่งทะเลเท่านั้น แต่ทั้งนี้ยกเว้นปลาเฮร์ริงดองที่พอจะเห็นได้ทั่วไป และมีคนเยอรมันนิยมบริโภคบ้าง ส่วนปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ปลาเฮร์ริง ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแมกเคอเรล และปลาแซลมอนนั้นก็ยังมีผู้นิยมบริโภคกันอยู่ทั่วประเทศ ส่วนอาหารทะเลอื่น ๆ จะไม่นิยมรับประทานมากนัก มียกเว้นบ้างก็ได้แก่ประเภทหอย หรือกุ้งที่มาจากทะเลทางเหนือ แต่ก็มีราคาที่สูงมากเมื่อเปรียบกับกุ้งที่นำเข้าจากต่างประเทศ

ผักสด

อาหารประเภทผักสด จะได้รับการปรุงในรูปของสตูว์ หรือซุปผักเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่มีหลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเครื่องเคียงมากกว่าที่พบเป็นส่วนใหญ่ได้แก่ แครอต ผัดโขม ถั่ว และผักกาดชนิดต่าง ๆ และหัวหอมทอด ซึ่งถูกกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์จึงนำมาเป็นเครื่องเคียงได้เป็นอย่างดี และหลาย ๆ เมนู อาหารบาวาเรียจะไม่เป็นอาหารที่เป็นหลักก็ตาม ชาวเยอรมันไม่ถือว่ามันฝรั่งเป็นอาหารประเภทผัก ส่วนประเภทหน่อไม้โดยเฉพาะหน่อไม้สีขาว จะเป็นที่ชื่อชอบเป็นอย่างมากของชาวเยอรมัน จะเห็นได้ว่าบรรดาภัตตาคารอาหารเยอรมันต่าง ๆ จะไม่นำผักต่าง ๆ มาเป็นเครื่องเคียงเลย แต่จะนำหน่อไม้มาใช้กันมากกว่า และมีให้เห็นทั่วไป

อาหารประเภทเครื่องเคียง

อาหารที่เป็นประเภทเครื่องเคียงของคนเยอรมันนั้นจะต่างจากคนอิตาลี โดยเฉพาะเส้นหมี่ซึ่งของคนเยอรมันจะมีส่วนผสมของไข่แดง ที่คนเยอรมันตอนใต้เรียกว่า Spatzle ซึ่งมีไข่แดงเป็นส่วนผสมมากว่า แต่ต่อมาไม่นานพาลต้าของอิตาลีก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น ทำให้ Spatzle ไม่มีส่วนผสมของไข่แดงเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป นอกจากเส้นหมี่ มันฝรั่งและแป้งต้ม ก็เป็นที่นิยมกันมากเหมือนกันโดยเฉพาะทางเยอรมันตอนใต้ กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา

เครื่องดื่ม

คนเยอรมันได้ชื่อว่าเป็นนักดื่ม โดยเฉพาะเบียร์นับว่าเป็นวัฒนธรรมกันเลยทีเดียว เบียร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ เบียร์พีลส์ (Pils) จากสาธารณรัฐเช็ก แต่คนเยอรมันตอนใต้ ซึ่งมีคนบาวาเรียอยู่แยะจะนิยมดื่มเบียร์ลาเกอร์มากกว่า

ประเภทเครื่องปรุง

คนเยอรมันจะใช้มาสตาร์ดเป็นเครื่องปรุงมากที่สุดโดยเฉพาะกับไส้กรอก มัสตาร์ดของคนใต้จะมีรสชาติที่ออกหวานกินกับไส้กรอกเข้ากันดีมาก เช่น ไส้กรอกสีขาว คนเยอรมันไม่ชอบกระเทียมเพราะถือว่ามีกลิ่นเหม็น ทำให้กระเทียมไม่เป็นที่ต้องการมากนักสำหรับการปรุงอาหารเยอรมัน แต่ต่อมาก็ได้มีผู้นำกระเทียมมาเป็นส่วนผสมของอาหารทำให้มีรสชาติที่ดีขึ้น โดยนำแบบอย่างมาจากอาหารฝรั่งเศสและอิตาลี นอกจากมัสตาร์ดที่กินกับไส้กรอกแล้ว อาหารเยอรมันนยังมีรสชาติที่เผ็ดร้อนด้วยเครื่องปรุงที่เป็นสมุนไพรที่ประกอบไปด้วย ผักซีฝรั่ง ใบไทม์ ในลอเรล และต้นหอม แต่ที่นิยมได้แก่พริกไทยป่น จูนิเปอร์เบอร์รี่ และคาราเวย์ พร้อมทั้งเครื่องปรุงประเภทมินต์ เซจ และพริกสด

ขนมหวาน

คนเยอรมันนิยมเค้ก และพายหลายชนิด ส่วนมากมาจากผลไม้สดชนิดต่าง ๆ เช่น แอปเปิล ลูกพลับ สตอเบอร์รี่ และผลเชอรี่ ชีสเค้กเป็นขนมที่คนเยอรมันโปรดปราน ส่วนโดนัสนั้นมีทั้งแบบเยอรมันชนิดกลม หรือมีใส้ที่เป็นแยมอยู่ข้างใน ที่คนไทยรู้จักกันดีเช่น แบร์ลิเนอร์นั่นเอง ส่วนไอศกรีม และซอร์เบตก็เป็นที่ชื่นชอบเช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นร้านของคนอิตาลีที่อาศัยอยู่ในเยอรมัน มีขายกันมาตั้งแต่ปี 1920 สำหรับขนมปัง คนเยอรมันนิยมกินขนมปัง และสามารถทำได้เองมากกว่า 1,000 รูปแบบทีเดียว